“โครงงาน” เป็นการศึกษาค้นคว้าค้นหาคำตอบ เกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยดำเนินการอย่างเป็นระบบและเป็น ขั้นตอน มีการวางแผน ปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้จนได้ ข้อสรุปที่เป็นคำตอบของเรื่องนั้น และมีการนำเสนอผลของ การค้นพบที่เป็นองค์ความรู้นั้นให้ผู้อื่นได้รับรู้
“อาชีพ” เป็นงานที่ทำและเกิดรายได้เพื่อใช้ ในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
ดังนั้น “โครงงานอาชีพ” จึงเป็นการศึกษาค้นคว้าหาคำตอบ ของการทำงานอาชีพ ที่ดำเนินการอย่างเป็นระบบและเป็น ขั้นตอน มีการวางแผน ปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้จนได้ ข้อสรุปที่เป็นคำตอบ
โครงงานอาชีพ เป็นการศึกษาหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ การทำงานอาชีพ 2 ประเด็น คือ วิธีหรือกระบวนการทำงาน และรายได้จากการทำงาน ส่วนโครงงานวิทยาศาสตร์ค้นหา ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรต่างๆ ของธรรมชาติและเน้น การทดสอบสมมติฐาน โครงงานอาชีพจึงแตกต่างกับโครงงาน วิทยาศาสตร์ หรือ อาจกล่าวได้ว่า โครงงานอาชีพเป็นกิจกรรมหนึ่งของ การแนะแนวด้านอาชีพ เพื่อช่วยเหลือนักเรียนให้รู้จักทำงาน อาชีพเพื่อหารายได้
"โครงงานอาชีพจึงแตกต่าง กับโครงงานวิทยาศาสตร์ ซึ่ง ศึกษาหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ การทางานอาชีพ 2 ประเด็น คือ วิธีหรือ กระบวนการ ทำงาน และรายได้จากการทำงาน "
จุดเน้นการฝึกนักเรียนไปสู่การทำงานอาชีพด้วยโครงงานอาชีพ มีดังนี้
1. ทักษะกระบวนการที่นำไปสู่การทำงานอาชีพ
1. ) วิเคราะห์งาน
ยกตัวอย่างการทำงานอาชีพปลูกกล้วย เราต้องวิเคราะห์งานเพื่อจำแนก แยกแยะงานการปลูกกล้วย เช่น เราต้องรักและต้องรับผิดชอบอะไร ต้องรู้จักพันธุ์และ วงจรชีวิตกล้วย ต้องรู้จักวิธีการปลูกกล้วย ต้องรู้จักการใช้เครื่องมือ ต้องรู้จักการใส่ปุ๋ย และรดนำ้ ต้องรู้จักการป้องกันและรักษาโรค ต้องรู้การเก็บเกี่ยวและจำหน่าย เป็นต้น
2. ) วางแผนการทำงาน
เมื่อรู้เกี่ยวกับงานที่ทำแล้ว เราก็ต้องเตรียมการปลูกกล้วย ได้แก่ เตรียมที่ เตรียมดิน ปุ๋ย และยาป้องกันโรค เตรียมพันธุ์ เตรียมคนปลูกและดูแล เตรียมเงิน สำหรับทำงาน เตรียมเวลาการปลูกและการดูแลแต่ละช่วงเวลา รวมทั้งการจำหน่าย เป็นต้น
3. ) ปฏิบัติงานตามแผน
เมื่อเตรียมทุกสิ่งทุกอย่างครบถ้วนแล้วเราก็ต้องลงมือปลูกกล้วยตามแผนที่ กำหนดไว้ระหว่างปลูกเราต้องสังเกต จดบันทึกข้อมูลต่างๆ และหาข้อสรุปสำหรับ ปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้กล้วยที่ปลูกเจริญเติบโต รวมทั้งการส่งตลาดหรือการจำหน่าย
4. ) ประเมินผลการทำงาน
การปลูกทุกขั้นตอนที่กล่าวแล้ว เราต้องตรวจสอบและประเมินการท างาน และผลของงานที่เกิดขึ้นว่าเป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่อย่างไร รวมทั้งการจ าหน่ายว่า มีก าไรหรือขาดทุนอย่างไร เพื่อดูข้อบกพร่องและต้องปรับปรุงและแก้ไขอย่างไร
ผู้ประกอบอาชีพที่ประสบความสำเร็จต้องมี “วินัย” อันเป็นสิ่งควบคุมให้มีคุณลักษณะ ที่ดีในการทำงาน ได้แก่ ตั้งใจ ซื่อตรง รับผิดชอบ ตรงเวลา ขยัน อดทน สุภาพ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การมีวินัยเกิดประโยชน์ต่อตัวเองแล้วยังก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและ ประเทศชาต
1. การวิเคราะห์งาน
จำแนกภาระงาน
จำแนกความสำคัญของงาน
จำแนกขั้นตอนการทำงาน
จำแนกเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับทำงาน
จำแนกผลที่ได้รับของงาน
2. การวางแผน
กำหนดขั้นตอนการทำงาน
กำหนดเวลาการทำงานแต่ละขั้นตอน
กำหนดเครื่องมือ อุปกรณ์ วัสดุ เงิน และคนทำงาน
กำหนดหนดราคาสินค้าที่นำไปสู่รายได้หรือกำไร
3. การปฏิบัติงาน
ทำงานตามแผนที่กำหนด
ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์และวัสดุในการทำางาน
ใช้การตลาดในการทำงาน
จำหน่ายหรือบริการ
จดบันทึกและจัดกระทำข้อมูลการทำงาน
ควบคุม ปรับปรุงและแก้ไขการทำงาน
4. การประเมินงาน
ใช้เครื่องมือตรวจสอบก่อน ระหว่างและหลังการทำงาน
มีเกณฑ์ประเมินการทำงาน
ประเมินและสรุปการทำงาน และผลงาน
รายงานผลการทำงาน
2. รายได้จากการทำงาน
รายได้เป็นสิ่งที่ผู้ทำงานอาชีพคาดหวัง ถ้ารายได้ที่เป็นกำไรจากการลงทุน (ค้าขาย)หรือ การบริการนั้นสามารถนำไปใช้สำหรับดำรงชีวิตได้เพียงพอแล้วก็จะเกิดความพึงพอใจต่องาน อาชีพนั้น
การตั้งราคาสินค้าหรือการบริการจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่ต้องตั้งราคาสินค้าให้ถูกต้อง หากตั้ง ไว้สูงหรือต่ำเกินไปส่งผลต่อกำไร ซึ่งเป็นรายได้ของการทำงานอาชีพนั้นๆ
สูตรพื้นฐานของการตั้งราคาสินค้าหรือการบริการ
ต้นทุน เป็นสิ่งสำคัญ การกำหนดต้นทุนต้องมององค์ประกอบให้ครบถ้วน เพราะมีผล ต่อกำไร หากมองไม่ครบทำให้ราคาสินค้านั้นถูกเกินไป ทำให้กำไรน้อยลงหรือไม่ได้กำไร หาก ขาดทุนก็ทำให้การทำงานอาชีพไปไม่รอด
ต้นทุนแยกได้ดังนี้
1. ต้นทุนต่อหน่วยของสินค้า
2. ต้นทุนที่เป็นค่าแรง
3. ต้นทุนที่เป็นวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือที่ใช้ครั้งเดียวหรือใช้ได้หลายๆ ครั้ง
4. ต้นทุนที่เป็นค่าใช้จ่ายส่วนกลาง เช่น ไฟฟ้า ประปา ค่าเช่า
5. ต้นทุนอื่นๆ เช่น ปากกา ยางลบ กระดาษ ฯลฯ
กำไร เป็นความพึงพอใจที่ต้องการที่กำหนดจากราคาต้นทุนของสินค้า มักกำหนดเป็น เปอร์เซ็นต์เช่น 10 % หรือ 20% เป็นต้น
การซื้อขายหรือการบริการต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกค้า การตั้งราคาสูงเกินไป ก็ขายไม่ได้ หากตั้งต่ำเกินไปก็อาจขายได้แต่ขาดทุน
การซื้อขายหรือการบริการมีความจำเป็นที่ต้องทำบัญชีรับจ่าย โดยจดบันทึกก่อนและ หลังรายการเมื่อการซื้อขายเกิดขึ้น เพื่อให้รู้ว่าการจำหน่ายสินค้าหรือการบริการในงวดหนึ่งๆ ว่ามีกำไรหรือขาดทุน เป็นข้อมูลที่ใช้ตรวจสอบและป้องกันความผิดพลาดการปฏิบัติงานได้ นอกจากนี้ยังใช้เป็นข้อมูลสำหรับการควบคุม กำกับ และติดตามการประกอบกิจการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การทำบัญชี เป็นการจดบันทึกรายการค้าจากการรับเงินและจ่ายเงินลงในสมุดบัญชี อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเก็บข้อมูล และจัดทำรายงานทางการเงิน ซึ่งแสดงผลการดำเนินงานและ ฐานะการเงินของกิจการในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ สุดท้ายของการบัญชีคือการนำเสนอข้อมูลทาง การเงินที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลต่างๆ และผู้สนใจในกิจกรรมของกิจการนั้นๆ
รายการต่างๆ ที่จดบันทึกในการทำบัญชีอย่างง่ายมีดังนี้
1. รายรับ หมายถึง ยอดรวมจำนวนเงินได้รับ ซึ่งเป็นเงินที่ได้จากการขายสินค้า
2. รายจ่าย หมายถึง จำนวนเงินใช้จ่ายในการซื้อสินค้าเพื่อนำมาเป็นใช้ปฏิบัติงาน เช่น ค่าวัสดุต่างๆ ค่าเชื้อเพลิง ค่าอุปกรณ์ ค่าแรงงาน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
3. เงินคงเหลือ หมายถึง การนำยอดเงินรายจ่ายไปหักออกจากเงินรายรับ เรียกว่า “เงินคงเหลือ” หากมีเงินคงเหลือแสดงว่ามี “กำไร”
ตัวอย่างแบบบันทึกการทำบัญชีรับจ่ายแบบง่ายๆ
ประโยชน์ของการจดบันทึก
การทำบัญชีเป็นประโยชน์ต่อรายได้ซึ่งเป็นสิ่งที่คาดหวังของผู้ทำงานอาชีพ ดังนี้
ช่วยบันทึกความทรงจำที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน
ช่วยให้ได้ข้อมูลที่แสดงฐานะทางการเงินของกิจการ
ช่วยพัฒนานิสัยในการทำงานให้เป็นระบบและมีระเบียบแบบแผน
ช่วยพัฒนาให้มีความรับผิดชอบมากขึ้น
ช่วยให้รู้จักประหยัดค่าใช้จ่ายกับสิ่งที่ไม่จำเป็น
ช่วยให้กำหนดเป้าหมายทางการเงินชัดเจนยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ รายได้จากการขายสินค้าหรือการบริการขึ้นอยู่กับคุณภาพของสินค้าหรือ การบริการแล้วยังขึ้นอยู่กับทักษะของผู้ประกอบอาชีพที่ต้องรู้จักในสิ่งต่อไปนี้
1. รู้จักตั้งราคาไม่ให้ถูกหรือแพงเกินไป
2. รู้จักกลุ่มเป้าหมายที่มาซื้อหรือรับบริการ
3. รู้จักช่วงเวลาที่เหมาะสมของการขายหรือบริการ
4. รู้จักทำให้สินค้ามีคุณภาพและลูกค้าเชื่อมั่นในสินค้า
5. รู้จักสร้างความรู้จักและคุ้นเคยกับสินค้าหรือการบริการโดยการโฆษณา และประชาสัมพันธ์
6. รู้จักท าต้นทุนสินค้าหรือการบริการให้ต่ำลง
7. รู้จักมองผลรวมของกำไรมากกว่ามองผลกำไรเป็นรายชิ้นของสินค้าหรือ การบริการ
ส่วนประกอบของโครงงาน
อ้างอิงจาก : http://www.yala1.go.th/web/images/nited59/5_OK.pdf